ประวัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพลำหรับลูกจ้างประจำของส่วนราชการ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว (กสจ.)

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับลูกจ้างประจำของส่วนราชการซึ่งจดทะเบียนแล้ว  (กสจ.) จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2539

กระทรวงการคลัง โดยกรมบัญชีกลางได้จดทะเบียนจัดตั้งกองทุน“กสจ.” เป็นนิติบุคคล ตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530  เมื่อวันที่ 27 มีนาคม  2540

องค์ประกอบของคณะกรรมการ 15  ท่าน

ผู้แทนกรมบัญชีกลาง  1  ท่าน

ผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง   1  ท่าน

ผู้แทนสำนักงบประมาณ   1  ท่าน

ผู้แทนส่วนราชการอื่นอีก   5  ท่าน

ผู้แทนสมาชิก (ปฏิบัติงานไม่น้อยกว่า 5 ปี)   7  ท่าน

วิธีการเลือกตั้ง  เป็นไปตามหนังสือกระทรวงการคลังที่ กค. 0526.2/ว.25332   ลงวันที่  27  มิถุนายน  2540

วิสัยทัศน์ (Vision) ของ กสจ.

“ กสจ. จะเป็นกองทุนที่มีความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืน  มีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ และสามารถสร้างผลประโยชน์ให้เป็นที่ประจักษ์แก่สมาชิก ”

พันธกิจ (Mission) ของ กสจ.

  1. ให้มีการจัดทำทะเบียนสมาชิกอย่างถูกต้องและจัดสรรผลประโยชน์ให้ แก่สมาชิกอย่างรวดเร็ว
  2. ให้มีการบริหารจัดการด้านการลงทุนด้วยผู้บริหารมืออาชีพ เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนเป็นที่พอใจ
  3. ให้มีการดูแลรักษาทรัพย์สินของกองทุน ให้มีความปลอดภัยและตรวจสอบได้
  4. จัดหาสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ให้แก่สมาชิก
  5. เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ ให้แก่ลูกจ้างประจำของส่วนราชการ ถึงสิทธิประโยชน์ในการเป็นสมาชิก
  6. ประสานงานกับส่วนราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  7. จัดระบบการปฏิบัติงานภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

วัตถุประสงค์หลัก  4  ประการ

  1. เพื่อเป็นสวัสดิการแก่ลูกจ้างให้มีเงินไว้ใช้เมื่อออกจากราชการ หรือเมื่อพ้นวัยทำงาน
  2. เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี ระหว่างรัฐและลูกจ้างประจำ (ลูกจ้างสะสม 3% รัฐสมทบให้ 3%)
  3. เพื่อสร้างสถาบันเงินออม
  4. เพื่อสร้างหลักประกันให้แก่ครอบครัว

ปัจจุบันกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับลูกจ้างประจำของส่วนราชการ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว มีคณะกรรมการ กสจ. ชุดที่ 10 บริหารจัดการ โดยคัดเลือก กรรมการผู้แทนส่วนราชการ และกรรมการผู้แทนสมาชิก เข้ามาบริหารงานกองทุน และมอบหมายให้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ทำหน้าที่บริษัทจัดการทะเบียนสมาชิก  บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด  และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด ทำหน้าที่บริษัทผู้จัดการการลงทุน  ธนาคาร กสิกร ไทย จำกัด ทำหน้าที่ผู้รับฝากทรัพย์สิน ซึ่งคณะกรรมการ กสจ. ชุดที่ 10 ประกอบด้วย

ผู้แทนส่วนราชการ

1. นายพัลลภ  ศักดิ์โสภณกุล (สำนักงบประมาณ) ประธานกรรมการ
2. นางวราทิพย์  อากาหยี่ (สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง)
3. นางพรกมล  ประยูรสิน (กรมบัญชีกลาง)
4. นายสุภัทร  จำปาทอง (กระทรวงศึกษาธิการ)
5. นายสันติ  อ่ำศรีเวียง (กระทรวงการคลัง)
6. นายกิตติศักดิ์  หาญกล้า (สำนักนายกรัฐมนตรี)
7. นายสุเทพ  วัชรปิยานันทน์ (กระทรวงสาธารณสุข)

8. นายสมเกียรติ  บุญทอง (กระทรวงแรงงาน)

ผู้แทนฝ่ายลูกจ้างประจำ

9. นายธนะ  บำรุงแสง (กระทรวงการคลัง) กรรมการและเลขานุการ
10. นางพาณิภัค  จึงสง่า (กระทรวงอุตสาหกรรม)
11. นายชัยสิทธิ์  ขันติสิทธิ์ (กระทรวงยุติธรรม)
12. นายชินพันธ์  นาคประสพ (กระทรวงการมหาดไทย)
13. นายนะกูล  อักษรไวสมผล (กระทรวงศึกษาธิการ)
14. นางยุพา  วีระทรัพย์ (กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา)
15. นายจรัญ  เหมือนแขยด (กระทรวงพลังงาน)

กสจ. ได้เติบใหญ่ มีความเจริญก้าวหน้า ทวีความมั่นคง เป็นที่น่าภูมิใจแก่เหล่าสมาชิกทุกท่าน ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาดังกล่าว คณะกรรมการกองทุน ได้ยึดมั่นในวัตถุประสงค์ของการก่อตั้ง กสจ. มาโดยตลอด ได้แก่ ความต้องการให้กองทุน กสจ. มีความมั่นคง เป็นที่พึ่ง และเป็นสวัสดิการแก่ ลูกจ้างประจำ ของส่วนราชการที่เป็นสมาชิก กสจ. จำนวน 97,667 คน เพื่อให้มีเงินสะสมไว้ใช้ยามออกจากราชการ เพิ่มเติมจากเงินบำเหน็จ หรือเงินบำเหน็จรายเดือนที่ได้รับตามปกติ จากสำนึกดังกล่าวนโยบายการบริหารการลงทุนของ กสจ. จึงเน้นที่จะรักษาผลประโยชน์ ให้แก่สมาชิก โดยนำเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างๆ ให้เกิดผลตอบแทนสูงสุดภายใต้ระดับความเสี่ยงที่รับได้  หรือตามนโยบายการลงทุน

ในช่วงระยะเวลา 19 ปีที่ผ่านมา กสจ. ได้เติบโตจากเงินบาทแรกที่สมาชิกสะสม มาจนบัดนี้มีสินทรัพย์สุทธิ จำนวนทั้งสิ้น 19,560.89 ล้านบาท มีสมาชิกจำนวน 97,667 ราย จากส่วนราชการทั่วประเทศ  กสจ. จะเป็นกองทุนที่สำคัญ และเติบโตอย่างมั่นคงต่อไปในอนาคต จึงมีความจำเป็นที่การทำงานของ กสจ. จะต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  รวมถึงการปรับปรุงระบบการปฏิบัติงาน ซึ่งหน่วยราชการต่าง ๆ ที่มีสมาชิก กสจ. ใช้ปฏิบัติอยู่ให้เกิดการทำงานที่ถูกต้อง ทั้งนี้ ก็เพื่อให้ได้มา ซึ่งความสมบูรณ์ของฐานข้อมูลสมาชิกรายบุคคล ตลอดจนหลักฐานการสะสมเงิน และผลตอบแทนที่สมาชิกพึงจะได้ อุปสรรคเหล่านี้จำเป็นจะต้องได้รับความร่วมมือโดยตรง จากเจ้าหน้าที่ โดยทางคณะกรรมการได้ให้ความร่วมมือ เช่น การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน การออกแบบสอบถามข้อมูลสมาชิก ไปตามหน่วยราชการทั่วประเทศ และการนำใบสมัครสมาชิกมาตรวจทานข้อมูลอีกครั้ง ในส่วนของการเผยแพร่ข่าวสาร กสจ. ก็ได้มีการพัฒนาอย่างมาก โดยได้รับความร่วมมือโดยตรง จากกรมประชาสัมพันธ์ ซึ่งจะเห็นผลเป็นรูปธรรมมากขึ้นในระยะต่อไป โดยมุ่งหวังที่จะเชิญชวนให้ลูกจ้างประจำที่ยังไม่ทราบข่าว หรือยังไม่เข้าใจหันมาสมัครเป็นสมาชิก กสจ. มากยิ่งขึ้น

ตลอดระยะเวลา คณะกรรมการกองทุน ได้ยึดมั่นในวัตถุประสงค์ของการก่อตั้ง กสจ. และมุ่งเน้นพัฒนาให้กองทุน กสจ. มีความมั่นคง เป็นหลักประกันให้แก่สมาชิกเมื่อพ้นวัยทำงาน เพิ่มเติมจากเงินบำเหน็จ หรือเงินบำเหน็จรายเดือนที่ได้รับตามปกติ และเป็นหลักประกันให้แก่ครอบครัว หากสมาชิกเสียชีวิต ดังสโลแกนที่ว่า  มั่นคง  ปลอดภัย  ออมเงินไว้กับ กสจ.